วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

ประวัติสงขลา
" สงขลา " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แหล่งท่องเที่ยวสงขลา


เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา

   สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พ.ศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบันเมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444)จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของแหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบันครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน 
                                                                                 
อ้างอิงhttp://www.songkhla.go.th history                                                                                                                                 

 อำเภอเมืองสงขลา

แหลมสมิหลา 
แหลมสมิหลา อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด 
และทิวสนอันร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาดในราคาไม่แพงนัก


แหลมสนอ่อน 
แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อน เป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลหลวงและทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร 
สวนเสรี อยู่บริเวณเขาน้อยใกล้แหลมสมิหลา เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง บริเวณสวนตกแต่งด้วยไม้ดัดเป็นรูปสัตว์ต่าง
 เขาน้อย 
อยู่ใกล้กับแหลมสมิหลา เป็นภูเขาเล็กๆ มีถนนลาดยางขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองสงขลา
เขาตังกวน อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต) บนยอดเขามีเจดีย์และตำหนักซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลา และทะเลสาบสงขลาได้อย่างชัดเจน 

เก้าเส้งอยู่ทางทิศใต้ของหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนไทรบุรี ตรงสามแยกสำโรง (โรงพยาบาลประสาท) เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของสงขลา มีโขดหินระเกะระกะอยู่ริมทะเล และมีอยู่ก้อนหนึ่งตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หัวนายแรง 

เกาะหนู-เกาะแมว เกาะหนู-เกาะแมวเป็นเกาะใกล้ชายฝั่งขนาดเล็ก อยู่นอกแหลมสมิหลา มีหินสวยงามเหมาะสำหรับตกปลา 

ทะเลสาบสงขลาทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ
ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้ บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน 

สวนสัตว์สงขลา เป็นสวนสัตว์เปิดริมถนนสงขลา-จะนะ ตำบลเขารูปช้าง มีเนื้อที่ 911 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าของไทยคืนสู่ธรรมชาติ พื้นที่เป็นภูเขาเล็กๆ หลายลูก มีถนนลาดยางโดยรอบและแยกชนิดสัตว์ไว้เป็นหมวดหมู่ มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ เช่น อูฐ นกชนิดต่างๆ วัวแดง เสือ จระเข้ ฯลฯ นอกเหนือจากสัตว์ป่าชนิดต่างๆอันควรค่าแก่การศึกษา สวนสัตว์สงขลายังมีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ จุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสงขลา บริเวณนั้นมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว

วัดมัชฌิมาวาส(วัดกลาง) (วัดกลาง) อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา อายุ 400 ปี สร้างตอนปลายอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ กล่าวกันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมามีผู้สร้างวัดเลียบ ทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า วัดกลางและได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมัชฌิมาวาสโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสคราวเสด็จเมืองสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2431 ในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถ สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขาแดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก ซุ้มประตู เป็นศิลปะจีนกับยุโรป และมีพิพิธภัณฑ์ ภัทรศิลปเป็นที่เก็บพระพุทธรูป วัตถุโบราณ ซึ่งรวบรวมมาจากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดราชการ เวลา 13.00 - 16.00 น.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี เดิมเป็นบ้านพักส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชและเป็นศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. 2496 
ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารนี้เป็นโบราณสถานและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้าน
โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง อาทิ บานประตูไม้เดิมของจวน เป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสีและประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครู แสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงามยังความสมบูรณ์อยู่มาก โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียง และกาญจนบุรี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 7431 1728  
 
             เจดีย์บรรจุระบรมธาตุวัดชัยมงคล 

อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟสงขลา มีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งได้มาจากศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 2435 ปัจจุบันเป็นวัดหลวง มีอุโบสถ มากและศาลาการเปรียญที่สวยงาม 

พิพิธภัณฑ์พะธำมะรงค (พะธำมะรง) ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งบ้านพักเดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์ฯ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา จากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา พะทำมะรงเป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฎหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น.

วัดเกาะถ้ำ วัดเกาะถ้ำ อยู่ห่างจากสามแยกสำโรง ตามเส้นทางสายสงขลา-นาทวี ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่บนยอดเขา ประชาชนนิยมไปกราบไหว้บูชา ติดกับวัดเกาะถ้ำมีวัดแม่ชีที่เงียบสงบ สถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับทำสมาธิและวิปัสสนา

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา-สถาบันทักษิณคดีศึกษาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา บริเวณใกล้เชิงสะพานติณฯ ตอนเหนือ และอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 4146 มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ 1 งาน 39.9 ตารางวา พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่บริเวณเชิงเขา และอีกส่วนหนึ่งอยู่บนยอดเขา และเมื่อขึ้นไปอยู่บนสุดของพื้นที่ จะสามารถมองเห็นทะเลสาบส่วนที่ล้อมเกาะทั้ง 3 ด้าน เป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก
สถาบันแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ และมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้ เป็นที่น่าสนใจมาก เช่น ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจิตรกรรมฝาผนัง เครื่องดนตรีพื้นบ้านตลอดจนผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่างๆ สถาบันทักษิณคดีศึกษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา อุทยานวัฒนธรรมศูนย์วิทยบริการด้านวัฒนธรรม งานส่งเสริมและเผยแพร่และหมู่บ้านวัฒนธรรมสาธิต สถาบันเปิดให้ผู้สนใจชมในเวลาราชการทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 5 บาท


เกาะยอ 
เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

สะพานติณสูลานนท์ 
สะพานติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงที่เชื่อมระหว่างทางหลวงหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวง 408 สายสงขลา-ระโนด โดยสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่ง อ.เมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับเกาะยอตอนใต้ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งทั้งสิ้น 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529 สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องเดินทางแวะชมควบคู่ไปกับการมาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารที่เกาะยอ

 สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสงขลา ตั้งอยู่บริเวณ ปลายแหลมสนอ่อน เป็นโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างใน ปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและ ประชาชนทั่วไปให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับระบบ นิเวศทางน้ำและพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิด มีเนื้อที่รวม ประมาณ 7.5 ไร่ ตัวอาคารมีเนื้อที่ 2 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนน้ำจืด เป็นการจำลองน้ำตกที่มีชื่อเสียงของ ภาคใต้ และการแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด ส่วนน้ำกร่อย เป็นการจำลองระบบนิเวศของน้ำ เช่น ป่าชายเลน พืช และสัตว์ที่อาศัยบริเวณป่าชายเลน ส่วนทะเล มีสัตว์ทะเลและพันธุ์ปลาหลากหลาย ชนิดสามารถชมผ่านจอแก้วพานอรามาที่มีขนาดสูง 3 เมตร ยาว 7 เมตร สามารถชมปลาได้ในมุมกว้าง

ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ เป็นโครงการที่เทศบาลนครสงขลา สรรค์สร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณ ชายหาดสมิหลา
ให้เป็นสถานที่พักผ่อนของ นักท่องเที่ยวและชาวสงขลา โดยนำเอา คติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของการ กำเนิดน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือพญานาคเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นับ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของ ชาวสงขลา ประติมากรรมพญานาค พ่นน้ำเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดสงขลา มีลักษณะแบบลอยตัว สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เนื้อวัตถุ เป็นโลหะทองเหลืองรมสนิมเขียวออกแบบ โดย อาจารย์มนตรี สังข์มุสิกานนท์ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณคนปัจจุบัน) มีการสร้างขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง หัวพญานาค ตั้งอยู่บริเวณสวนสองทะเล ปลายแหลมสนอ่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความสูงจากฐานลำตัวจนถึงปลายยอดสุดประมาณ 9 เมตร พ่นน้ำลงสู่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ส่วนที่สอง สะดือพญานาค ตั้งอยู่บริเวณลานชมดาวสนามสระบัว แหลมสมิหลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความยาว 5.00 เมตร ความสูง 2.50 เมตร ลักษณะลำตัวโค้งครึ่งวงกลม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลอด ใต้สะดือพญานาคให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนที่สาม หางพญานาค ตั้งอยู่บริเวณชายหาดสมิหลา ริมถนนสะเดา (หลังสนามกอล์ฟ) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร ความยาว 4.00 เมตร ความสูง 4.50เมตรปัจจุบันประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำได้รับ
ความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยือน จังหวัดสงขลา

บ้านศรัทธา  เป็นบ้านที่ชาวสงขลาพร้อมใจกันสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญทาง ประวัติศาสตร์มอบให้กับ ฯณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2534 ต่อมาท่านได้มอบบ้านศรัทธานี้คืนให้กับชาวสงขลาเมื่อปี 2539 พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสงขลาได้จัดสร้างอาคารหอสมุดกาญจนาภิเษกขึ้น ตรงเชิงเขาใกล้กับบ้านศรัทธาและเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้า บ้านศรัทธาตั้งอยู่บนเนินเขา ใกล้กับบ้านศรัทธา และเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้าและท่องเที่ยว บ้านศรัทธานี้เป็นสิ่งที่ แสดงถึงศรัทธาที่ชาวสงขลามีต่อ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์                                                                                                                                     อำเภอหาดใหญ่ 

หาดใหญ่ หาดใหญ่ เมืองศูนย์กลางด้านการค้าและธุรกิจของภาคใต้ ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นประตูผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เนื่องจากอยู่ห่างจากด่านสะเดาเพียง 60 กิโลเมตร ปัจจัยที่ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากก็คือ การเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ธุรกิจการค้า การขนส่ง การสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา และการท่องเที่ยว
ตัวเมืองหาดใหญ่ ตัวเมืองหาดใหญ่เป็นเมืองที่ค่อนข้างจะทันสมัย ประกอบด้วยอาคารบ้านเรือน ร้านค้าพาณิชย์ต่างๆ มากมาย ท่านอาจจะเดินชมสินค้าต่างๆ อย่างเพลิดเพลินโดยตั้งต้นจากจุดหนึ่งในย่านกลางใจเมือง เช่น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, 2 หรือ 3 แล้วท่านจะพบสินค้าแปลกๆ ใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์การค้ามีหลายแห่งคือ ศูนย์การค้าลิโด ศูนย์การค้าโอเดียน ถนนเสน่หานุสรณ์ ศูนย์การค้าหาดใหญ่พลาซ่า และตลาดซีกิมหยง ถนนเพชรเกษม ซึ่งย่านการค้าเหล่านี้อยู่ในบริเวณกลางใจเมืองที่ท่านสามารถเดินไปถึงได้อย่างสะดวก

วัดหาดใหญ่ใน  วัดหาดใหญ่ใน ถนนเพชรเกษมใกล้สะพานคลองอู่ตะเภา มีพระนอนขนาดใหญ่ประดิษฐานขนาดยาว 35 เมตร สูง 15 เมตร กว้าง 10 เมตร ชื่อพระพุทธหัตถมงคล

สวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่  สวนสาธารณะเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ริมถนนกาญจนวนิช เส้นทางหาดใหญ่-สงขลา ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ 6 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติ บริเวณสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างงดงาม มีศาลากลางน้ำ และสวนสัตว์ มีร้านอาหาร ที่จอดรถกว้างขวางไว้คอยบริการ ประชาชนนิยมไปพักผ่อนในยามว่าง และวันสุดสัปดาห์เป็นจำนวนมาก

น้ำตกโตนงาช้าง  ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งเสาห่างจากตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ประมาณ26กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างเป็นน้ำตก 
ที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคใต้ อยู่ห่างจากอำเภอ หาดใหญ่ประมาณ 26 กม. ไปตามเส้นทางหาดใหญ่-รัตภูมิ ประมาณ 13 กม. น้ำตกโตนงา ช้างมีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น ชั้นที่สวยงามและเป็นชื่อของน้ำตกคือ ชั้นที่ 3 ซึ่งมีสายน้ำตกแยกออกมา ลักษณะคล้ายงาช้าง อันเป็นที่มาของคำว่า "โตน" ภาษาพื้นเมืองแปลว่า น้ำตกโตนงาช้าง หมายถึง น้ำตกรูปงาช้างภายในบริเวณน้ำตกโตนงาช้างยัง มีเส้นทางเดินป่าไว้ให้นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัย เข้าถึงธรรมชาติ                                                                                                                                                                                              
อำเภอสะเดา

วัดถ้ำเขารูปช้าง  ตั้งอยู่ตำบลปาดังเบซาร์ ห่างจากตลาดปาดังเบซาร์ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นวัดที่ใช้ถ้ำเป็นศาสนสถาน ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นห้องๆ หลายห้อง มีหินงอกหินย้อยอันวิจิตรงดงาม รอบๆ บริเวณวัดมีบรรยากาศสงบร่มรื่น
อำเภอจะนะ

หาดปากบางสะกอม 
ที่ตั้ง บ้านปากบาง อำเภอสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นชายหาดที่เกิดจาดโครงสร้างธรรมชาติ เป็นหาดทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร คลื่นได้ซัดทรายขึ้นมากองในยามมรสุม บริเวณชายหาดได้ถึงปรับปรุงเป็นที่จอดรถ ศาลาที่พัก และร้านอาหาร อยู่ในสภาพทรุดโทรมหายากและสวยงาม การเดินทาง ทางหลวง 4086 (จะนะ - เทพา) กม.ที่ 1 เลี้ยวขวาเข้าถนนคอนกรีตอีก 1 กิโลเมตร    
      (ฟาร์มนกเขาชวา นกเขาเล็ก) 
อยู่ที่อำเภอจะนะ ห่างจากตัวเมืองสงขลาและหาดใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร การเลี้ยงนกเขาชวานั้นเป็นที่นิยมของ ชาวจะนะมากพอ ๆ กับชาวสุรินทร์เลี้ยงช้างทีเดียว แทบทุกบ้านจะมีกรงนกพร้อมคันชัก นิยมจัดประกวดนกเขา ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม นกที่ชนะการประกวดจะมีราคาแพงมาก ปกติลูกนกเขาอายุประมาณ 1 เดือนก็ จำหน่ายได้แล้ว ปัจจุบันมีฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเพื่อจำหน่ายขนาดใหญ่หลายแห่ง เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเลี้ยง นกเขาของประเทศเพื่อนบ้าน คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
                                           
วัดขวดหรือสถานปฎิบัติธรรมโคกสัก ตั้งอยู่หมู่ 5 บ้านคลองหาน ตำบลบ้านแค ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ 50 กิโลเมตร วัดนี้สร้างเมื่อปี 2536 โดยการนำขวดเก่าหลากสีหลายรูปบบที่ชาวบ้านบริจาค นำมาสร้างอุโบสถ โรงธรรม กุฏิ เจดีย์ ฝาผนัง กลายเป็นสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นสวยงาม ทำให้มีผู้มาชมเป็นจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 408 (จะนะ-นาทวี) บริเวณกิโลเมตรที่ 43 หน้าโรงเรียนบ้านแค จะมีถนนเข้าไปถึงวัดขวด ประมาณ 6 กิโลเมตร                                                                                   อำเภอระโนด

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชาวบ้านที่เชื่อว่าหากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วเมื่อ
ได้ดื่มน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้วจะหายจากอาการเจ็บป่วย อันเป็นเหตุมาจากรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเกาะสี่เกาะห้า จังหวัดพัทลุง และได้เสด็จเข้ามาในบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเสด็จพักที่พลับพลา และทรงประชวร พระองค์ทรงเสวยน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทำให้หายจากการประชวร ทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธา                                                                                                                                                                                                                                                        
อำเภอสิงหนคร


เจดีย์พี่น้องยอดเขาแดง - เจดีย์องค์ดำ ตั้งอยู่บนยอดเขาแดง ตำบลเขาแดง เมืองสงขลา เจ้าพระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ หรือ สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์สร้างไว้เป็นที่ระลึกเมื่อครั้งปราบกบฏเมืองไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2373
- เจดีย์องค์ขาว พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) สมเด็จพระยาองค์น้อย หรือสมเด็จพระยามหาพิชัยญาติ สร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อครั้งปราบกบฎเมืองไทรบุรี ปัตตานี ปีนัง และมลายู เมื่อปราบกบฏได้แล้ว พระยาศรีพิพัฒน์จัดราชการเมืองสงขลาอยู่ 2 ปี และได้สร้างเจดีย์ไว้บนยอดเขากลางเมืองสงขลาอีกองค์หนึ่งคู่กัน แล้วจึงยกทัพกลับกรุงเทพฯ                                                                                                                                                                                                                     อำเภอรัตภูมิ                                                           

วนอุทยานน้ำตกบริพัตร  วนอุทยานน้ำตกบริพัตร ตั้งอยู่ในเขต อ.รัตภูมิ ห่างจาก อ.เมือง ตามทางหลวง 52 กม. หมายเลข 406 ระหว่าง กม. 35-36 แยกทางลูกรังเข้าไป 1 กม. เป็นน้ำตกที่สวยงามไม่ด้อยไปกว่าน้ำตกโตนงาช้าง มีน้ำไหลตลอดปี                                                                                                                                                              
                                                                                                อำเภอเทพา

หาดสะกอม  อยู่ทางใต้ของเส้นทาง สงขลา-จะนะ-เทพา ห่างจากตัวเมืองสงขลา ระยะทาง 53 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอจะนะ 15 กิโลเมตร มีถนนลูกรังเข้าถึงชายหาด ซึ่งมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร นับเป็นสถานที่เหมาะแก่การพักผ่อน แค้มปิ้ง และสามารถเช่าเรือประมงข้ามไปตกปลาที่เกาะขาม ซึ่งมีปลาชุกชุม อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร และบริเวณหาดแห่งนี้มีอาหารทะเลสดๆ ให้เลือกมากมาย อีกทั้งยังมีที่พักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย เช่น สะกอมเบย์รีสอร์ท ลีลารีสอร์ท และสะกอมคาบานา
                              
  หาดสร้อยสวรรค์  หาดสร้อยสวรรค์ เป็นสถานที่พักผ่อนริมทางที่แขวงการทางหลวง จังหวัดสงขลา จัดสร้างให้นักท่องเที่ยวแวะพักผ่อน อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 27 ช่วงอำเภอจะนะไปอำเภอเทพา ชายหาดมีความยาว 3-4 กิโลเมตร ในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีอาหารและเครื่องดื่มบริการ           
                                                            อำเภอสทิงพระ                                                                  

 อุทยานนกน้ำคูขุด (เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา) ตั้งอยู่ที่บ้านคูขุด หมู่ที่ 4 ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระเข้าไปทางแยกประมาณ 3 กม. อยู่ทิศเหนือห่างจากสงขลา 32 กม. ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ทะเลสาบสงขลา เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2518 และเป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย มีพื้นที่อยู่ในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 227,916 ไร่ (365 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ อ.เมืองสงขลา อ.รัตภูมิ อ.สทิงพระ และกิ่ง อ.กระแสสินธุ์ และพื้นที่ส่วนหนึ่งติดต่อกับ อ.ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
อุทยานนกน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จากการสำรวจของกรมป่าไม้พบว่ามีนกชนิดต่างๆ กว่า 112 ชนิด ซึ่งนกเหล่านี้จะมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ที่บริเวณที่ทำการอุทยานมีเรือทัวร์ชมรอบๆ บริเวณอุทยานนกน้ำ ในราคาประมาณ 150 บาท ใช้เวลาเที่ยวชมนกประมาณ 1 ชั่วโมง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลานี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะ คือมีเกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย และหญ้าทะเลขึ้นเขียวขจีเหมือนกับทุ่งหญ้ากลางทะเลซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีทิวทัศน์งดงามมาก เกาะเหล่านี้บางเกาะอยู่ในพื้นที่ของ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง เช่น เกาะนางคำ เกาะญวน เกาะเสือ เกาะหมาก และบางเกาะไม่มีคนอาศัยอยู่เลย แต่ทว่ามีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวกันมาก เพราะมีบรรยากาศที่ดีเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ อย่างเช่น เกาะบรรทม เกาะคำเหียง เกาะกระ และเกาะโคบ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศด้านหนึ่งติดกับทะเลสาบ อีกด้านเป็นภูเขาเล็กๆ เหมาะแก่การนั่งดูนก เพราะบริเวณนี้มีต้นราโพ และต้นจากมากจึงเป็นที่อยู่และที่วางไข่ของนกอีโก้ง


วัดจะทิ้งพร ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.จะทิ้งพระ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระประมาณ 200 เมตร เดิมเรียกว่า "วัดสทิงพระ" สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1542 ภายในวัดมีโบราณสถานซึ่งเป็นศิลปะสมัยศรีวิชัยที่น่าสนใจ เช่น เจดีย์พระมหาธาตุ วิหารพระพุทธไสยาสน์ หอระฆัง
                       
 หาดสทิงพระ หาดสทิงพระ อยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอสทิงพระ มีถนนแยกขวาเข้าไปอีก 500 เมตร หาดสทิงพระเป็นชายหาดยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ในวันหยุดจะมีชาวบ้านละแวกนั้นไปพักผ่อน ที่ชายหาดไม่มีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการ  

วัดพะโคะ  วัดพะโคะ หรือ วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพร บริเวณเขาพัทธสิงค์ อยู่ห่างจากสงขลา 48 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายสงขลา-สทิงพระ วัดพะโคะเป็นวัดจำพรรษาของสมเด็จพะโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด อันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทางภาคใต้ มีประวัติเล่าว่า วันหนึ่งมีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะเดินอยู่มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลายจึงใคร่จะลองดี โจรสลัดจอดเรือและจับสมเด็จพระโคะไป เมื่อเรือมาได้สักครู่เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุดน้ำจืดหมดลงโจรสลัดเดือดร้อน สมเด็จพะโคะสงสาร จึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเลเกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ขอขมา และนำสมเด็จพะโคะขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก
                                                                   อำเภอนาทวี     

 อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง มีพื้นที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภอนาทวีและสะเดา ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 การเดินทางจากนาทวีใช้เส้นทางนาทวี-บ้านสะท้อน-บ้านนาปรัง-บ้านลุ่ม ตำบลปลักหน สถานที่น่า สนใจในเขตอุทยานได้แก่ น้ำตกโตนลาด น้ำตกโตนดาดฟ้า และอุโมงค์ธรรมชาติซึ่งเคยเป็นค่ายพักของผู้ฝักไฝ่ลัทธิ คอมมูนิสต์  

อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขา น้ำค้าง ตั้งอยู่ในบริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ 1 ต.คลองกวาง ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 4 กิโลเมตร สถานที่แห่งนี้รู้จักกันในนามหมู่บ้านปิยมิตร 5 ในอดีตเป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ หลังจาการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้ เข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี 2530 อุโมงค์แห่งนี้มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ภายในแบ่งเป็น 3 ช่องทาง ลึก 3 ชั้น มีบันไดเชื่อมระหว่างชั้นเข้า-ออกได้หลายช่อง ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในอุโมงค์ประมาณ 1,000 เมตร สามารถบรรจุคนได้ประมาณ 200 คน ภายในอุโมงค์แบ่งเป็นห้องๆ เช่น ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามยิงซ้อมยิงปืน ฯลฯ
                                                              อำเภอสะบ้าย้อย


วัดถ้ำตลอดวัดถ้ำตลอด ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำตลอด หมู่ที่ 6 ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย ประมาณ 25 กม. ตามถนนสาย รพช. (ต.สะบ้าย้อย-ต.เขาแดง) วัดถ้ำตลอด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย บริเวณวัดมีถ้ำสวยงามมาก เรียกกันว่า ถ้ำตลอดมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ ผ่าผ่านทะลุออกไปอีกฟากหนึ่งของภูเขา บริเวณถ้ำมี 3 คูหา มีพระพุทธรูปเก่าแก่ สร้างด้วยไม้โบกปูนซีเมนต์ มีอายุหลายร้อยปีมาแล้วตามหลักฐานการจัดตั้งวัดแห่งนี้ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2219 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2275 เป็นที่เคารพนับถือของราษฎรโดยทั่วไป มีพระพุทธรูปปางสมาธิ ปางไสยาสน์ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ประมาณ 100 องค์ และยังมีรูปยักษ์ขนาดใหญ่ สูง 6 เมตร ยืนอยู่หน้าถ้ำ สำหรับบริเวณถ้ำมีอากาศร่มรื่นเย็นสบาย เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
  

ถ้ำรูนกสัก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย ประมาณ 14 กม. (ตามถนนสาย รพช. ต.สะบ้าย้อย-ต.เขาแดง) ระหว่างทางจะมีป้ายด้านขวามือแสดงเส้นทางเข้าไปยังถ้ำรูนกสัก ซึ่งเป็นถ้ำที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง มีลำธารไหลผ่านกลางถ้ำ มีหินงอกหินย้อยรูปร่างลักษณะต่างๆ มากมาย เป็นถ้ำที่ทะลุกัน ยาวประมาณ 300 เมตร บางตอนของถ้ำมืดและบางตอนสว่าง การเดินทางเที่ยวถ้ำแห่งนี้ต้องปีนป่ายซอกหินลาดชันเล็กน้อย แต่ไม่เหนื่อยมากนัก เพราะการเดินทางทุกย่างก้าวผ่านธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และงดงามยิ่ง
อำเภอนาหม่อม


   
วัดเนินพิจิตรตั้งอยู่ ม.1 ตำบลพิจิตร เป็นวัดสร้างมาเป็นเวลานาน เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านในหมู่บ้าน

วัดคงคาเลียบ  ตั้งอยู่ที่บ้านหนองขวน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าช้าง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศไปเยือนอยู่เสมอ
                                                                                     อำเภอคลองหอยโขง



การท่องเที่ยว อ. คลองขอยโข่ง
ได้มีการพัฒนาและค้นพบแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น น้ำตกผาดำ อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร  พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน วัดโคกม่วงมีทวดช้างพลายสวัสดิ์ เป็นที่สักการะบูชาของผู้คนทั่วไป วัดปลักคล้ามีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ใหญ่เด่นสง่าสวยงาม วัดโคกเหรียง วัดโพธิ์ วัดปรางแก้ว มีโบราณสถานที่เก่าแก่น่าศึกษาอย่างยิ่ง และเขาวังชิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น